ใบรับรอง หลักสูตรที่มีการรับรองโดยสภาวิชาชีพ

1. ชื่อหลักสูตร

                ชื่อภาษาไทย              :  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
                ชื่อภาษาอังกฤษ          :  Bachelor of Engineering Program in Civil Engineering

2. ชื่อปริญญา

                ชื่อเต็มภาษาไทย         :  วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา)
                ชื่อย่อภาษาไทย          :  วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา)
                ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ     :  Bachelor of Engineering (Civil Engineering)
                ชื่อย่อภาษาอังกฤษ      :  B.Eng. (Civil Engineering)

3. จำนวนหน่วยกิจที่เรียนตลอดหลักสูตร

                จำนวนหน่วยกิจรวมตลอดหลักสูตร     145  หน่วยกิต

4. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • วิศวกรสนาม
  • วิศวกรสำนักงาน
  • วิศวกรหน่วยงานรัฐและเอกชน
  • ประกอบอาชีพอิสระ

5. ปรัชญาและความสำคัญ

                ผลิตวิศวกรโยธาที่มีความรู้ในด้านวิศวกรรมโยธา และความสามารถทางเทคโนโลยี พร้อม ด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพและจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม 

6. วัตถุประสงค์

  • มีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ 
  • มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในศาสตร์ด้านวิศวกรรมโยธาและสามารถนำความรู้ ในศาสตร์มาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมเพื่อการประกอบวิชาชีพของตน 
  • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความใฝ่รู้ในองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง 
  • มีมนุษยสัมพันธ์และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะในด้านการ ทำงานเป็นทีม มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน รวมถึงการใช้ทักษะในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี

7. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา สาขาวิชาช่างสำรวจ สาขาวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์หรือ 
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่าง ก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา สาขาวิชาช่างสำรวจ โดยวิธีเทียบโอนผลการเรียน 
  • ทั้งข้อ 1 และ 2 จะต้องมีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557

8. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

  • โดยวิธีการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
  • โดยวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาผ่านสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา

9. ค่าใช้จ่ายในการศึกษา

               ค่าใช้จ่ายนักศึกษาตลอดหลักสูตร 112,000 บาท

10. ระยะเวลาการศึกษา

                4 ปี

Curriculium (เล่มหลักสูตร มคอ.2 แบบไฟล์ PDF)

ถ้าความฝันของคุณคือการศึกษาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการศึกษาและอนาคตของคุณในภาคใต้ตอนบน วัตถุประสงค์ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม คือ การผลิตวิศวกรไฟฟ้าที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีขั้นสูง มีความชำนาญในการประกอบวิชาชีพและสามารถจัดการและดำเนินการวิจัยด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและเทคโนโลยี ผู้สำเร็จการศึกษาของเราได้ทำงานในบริษัทนานาชาติและระดับโลก ทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ ซึ่งเป็นที่รู้จักในแวดวงอาชีพ

ใบรับรอง ประกาศนียบัตรรับรองปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า 

1. ชื่อหลักสูตร

                ชื่อภาษาไทย              :  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
                ชื่อภาษาอังกฤษ          :  Bachelor of Engineering Program in Electrical Engineering

2. ชื่อปริญญา

                ชื่อเต็มภาษาไทย         :  วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า) 
                ชื่อย่อภาษาไทย          :  วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า)
                ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ     :  Bachelor of Engineering (Electrical Engineering)
                ชื่อย่อภาษาอังกฤษ      :  B.Eng. (Electrical Engineering)

3. จำนวนหน่วยกิจที่เรียนตลอดหลักสูตร

                ไม่น้อยกว่า 148 หน่วยกิต

4. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • พนักงานในสถานประกอบการ ในตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า
  • เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า
  • ผู้สอนในสถาบันการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
  • ประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านวิศวกรรมไฟฟ้า

5. ปรัชญาและความสำคัญ

  • ปรัชญา

                ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ที่มีการบูรณาการองค์ความรู้ด้านระบบ ควบคุม หรืออินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง เพื่อเป็นวิศวกรที่มีคุณภาพและมีจรรยาบรรณวิชาชีพ ทักษะการสื่อสาร และจิตส านึกรับผิดชอบต่อสังคม

  • ความสำคัญ

                ความต้องการของประเทศในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จ าเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในงานวิศวกรรมไฟฟ้าสาขาต่าง ๆ เพื่อการศึกษา ออกแบบ วิเคราะห์ วิจัยและวางแผน รวมทั้งการน าเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับทรัพยากร สภาพแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมไทย

                หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ได้ตระหนักถึงความส าคัญของ ภารกิจด้านวิชาการ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรของประเทศและเพื่อให้ บัณฑิตที่ส าเร็จการศึกษามีความรู้ความเชี่ยวชาญ สามารถวิเคราะห์ ออกแบบและท างานในระบบไฟฟ้า ระบบควบคุมทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และสามารถใช้เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าในงานด้าน อุตสาหกรรม ธุรกิจ การสื่อสาร การเกษตรและอื่น ๆ มีความคิดสร้างสรรค์อย่างมีระบบ สามารถน า องค์ความรู้ไปบูรณาการและประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งสามารถสร้างงานพัฒนาและวิจัยใน ระดับที่สูงยิ่งขึ้น เพื่อก่อให้เกิดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ อันเป็นวิวัฒนาการที่ยั่งยืนและไม่หยุดยั้ง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

6. วัตถุประสงค์

  • มีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ 
  • มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพวิศวกรรมด้านวิศวกรรมไฟฟ้าทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ และน าองค์ความรู้ไปใช้ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมได้อย่างเหมาะสม 
  • มีความใฝ่รู้ในองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถเลือกวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม 
  • มีมนุษยสัมพันธ์และมีความสามารถในการท างานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะในด้านการท างาน เป็นทีม มีทัศนคติที่ดีในการท างาน และสามารถบริหารจัดการการท างานได้อย่างเหมาะสม
  • มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และใช้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และศัพท์ทาง เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นอย่างดี

7. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • เป็นผู้ส าเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างไฟฟ้าก าลัง สาขาวิชาช่างโทรคมนาคม สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม หรือสาขา ที่เกี่ยวข้อง หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือ มีหน่วยกิตกลุ่ม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต มีหน่วยกิตกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หรือ 
  • เป็นผู้ส าเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาไฟฟ้า สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม สาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม หรือ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีเทียบโอนผลการเรียน 
  • ทั้งข้อ 1 และ 2 จะต้องมีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี 

8. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

  • โดยวิธีการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
  • โดยวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาผ่านสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา

9. ค่าใช้จ่ายในการศึกษา

                ค่าใช้จ่ายนักศึกษาตลอดหลักสูตร 112,000 บาท 

10. ระยะเวลาการศึกษา

                4 ปี 

Curriculium (เล่มหลักสูตร มคอ.2 แบบไฟล์ PDF)

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ได้ปรับปรุงเพื่อให้สามารถผลิตบัณฑิตที่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจและสังคมของประเทศ โดยมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านการบัญชี มีความสามารถบูรณาการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ มีทักษะในการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถใช้เทคโนโลยี มีค่านิยม มีจรรยาบรรณทางวิชาการ และการประกอบวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

การรับรองหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

1. ชื่อหลักสูตร

                ชื่อภาษาไทย              :  หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
                ชื่อภาษาอังกฤษ          :  Bachelor of Accountancy Program

2. ชื่อปริญญา

                ชื่อเต็มภาษาไทย         :  บัญชีบัณฑิต 
                ชื่อย่อภาษาไทย          :  บช.บ. 
                ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ     :  Bachelor of Accountancy
                ชื่อย่อภาษาอังกฤษ      :  B.Acc.

3. จำนวนหน่วยกิจที่เรียนตลอดหลักสูตร

                จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 125 หน่วยกิต

4. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • ผู้ทำบัญชี และสมุห์บัญชี 
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 
  • ผู้สอบบัญชีภาษีอากร 
  • นักออกแบบและวางระบบสารสนเทศทางการบัญชี 
  • ที่ปรึกษาทางด้านบัญชีและภาษี
  • ผู้สอนในสถาบันการศึกษา 
  • นักบัญชีบริหาร 
  • นักการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี 
  • ผู้ตรวจสอบภายใน

5. ปรัชญาและความสำคัญ

                มุ่งผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติทางวิชาชีพบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารธุรกิจยุคดิจิทัล ที่มี คุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพและจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม 

6. วัตถุประสงค์

  • มีความรอบรู้ในศาสตร์ทางการบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง สามารถบูรณาการ ประยุกต์ความรู้ได้อย่างเหมาะสมในการวางแผน การวิเคราะห์ การควบคุมและการตัดสินใจรองรับ การเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ 
  • มีความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานทางวิชาชีพบัญชี ทั้งในด้านการจัดทำบัญชี การสอบบัญชี การบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์ การวางรูปแบบระบบบัญชี การบัญชีภาษีอากร ระบบสารสนเทศทางการบัญชีและการบัญชีในยุคดิจิทัล สามารถใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ 
  • มีคุณธรรมจริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพในการประกอบวิชาชีพบัญชี มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ ชุมชนและสังคม 
  • มีความคิดสร้างสรรค์สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและตลอดจนสามารถ ทำงานร่วมกับผู้อื่น ร่วมมือรวมพลังเพื่อสร้างสรรค์การพัฒนาวิชาชีพทางการบัญชี 
  • มีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลและการสื่อสารที่ทันสมัย ได้เป็นอย่างดี 

7. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา หรือ มัธยมศึกษาตอนปลายทุกแผนการเรียน หรือ 
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกสาขาวิชา 
  • ทั้งข้อ 1 และ 2 จะต้องมีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 และ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

8. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

  • โดยวิธีการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย 
  • โดยวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาผ่านสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา

9. ค่าใช้จ่ายในการศึกษา

  • ภาคการศึกษาปกติ : เหมาจ่ายเทอมละ 12,000- บาท
  • ภาคการศึกษาพิเศษ : เหมาจ่ายเทอมละ 6,000- บาท

10. ระยะเวลาการศึกษา

  • หลักสูตรปกติ : 4 ปี
  • หลักสูตรเทียบโอน : 2 ปี

Curriculium (เล่มหลักสูตร มคอ.2 แบบไฟล์ PDF)

1. ชื่อหลักสูตร

                ชื่อภาษาไทย              :  หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล
                ชื่อภาษาอังกฤษ          :  Bachelor of Business Administration Program in Digital Entrepreneurship

2. ชื่อปริญญา

                ชื่อเต็มภาษาไทย         :  บริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล)
                ชื่อย่อภาษาไทย          :  บธ.บ. (การเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล) 
                ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ     :  Bachelor of Business Administration (Digital Entrepreneurship)
                ชื่อย่อภาษาอังกฤษ      :  B.B.A. (Digital Entrepreneurship)

3. จำนวนหน่วยกิจที่เรียนตลอดหลักสูตร

                ไม่น้อยกว่า 122 หน่วยกิต

4. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • ผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัล
  • นักวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ
  • นักการตลาดดิจิทัล
  • เจ้าพนักงานทั่วไปในหน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน

5. ปรัชญาและความสำคัญ

  • ปรัชญา

                ผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความรู้ และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มีศักยภาพที่สามารถแข่งขันได้ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยคุณธรรม และจริยธรรม

  • ความสำคัญ

                บริบทของโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจเสรี และการเกิดขึ้นของนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้สนับสนุนการทำกิจกรรมทางธุรกิจ จึงได้มีการประยุกต์เทคโนโลยีรวมเข้ากับการดำเนินชีวิตทั้งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การปรับเปลี่ยนโครงสร้างรูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจกระบวนการผลิต การค้า การบริหาร และกระบวนการทางสังคม การศึกษาจึงจำเป็นต้องตระหนักถึงการพัฒนาศักยภาพของคนให้มีความสามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ตลอดจนสามารถพัฒนานวัตกรรมธุรกิจได้ เพื่อเตรียมกำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความรู้ความสามารถใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังนั้น การเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล จึงเป็นศาสตร์ที่เรียนรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ที่มีความท้าทายทั้งจากบริบทภายในและภายนอกประเทศ ภายใต้สถานการณ์การแข่งขันทางตลาดสูงและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ช่วยสร้างโอกาสและเพิ่มช่องทางการประกอบธุรกิจให้กับผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบธุรกิจของตนเองและประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องได้อย่างหลากหลายทั้งในภาครัฐและเอกชน

6. วัตถุประสงค์

                เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

  • มีความรู้ในศาสตร์ด้านการเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ดังกล่าวอย่างเหมาะสมเพื่อทำงานและประกอบธุรกิจ
  • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความใฝ่รู้ในองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
  • มีคุณธรรม จริยธรรม ทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี รับผิดชอบต่อตนเอง สังคม วิชาชีพ และปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ
  • มีมนุษยสัมพันธ์และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะในด้านการทำงานเป็นทีมและมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  • มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารและนำเสนอผลงาน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่งเสริมกิจกรรมธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

7. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขา หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า หรือ
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกสาขา โดยวิธีเทียบโอนผลการเรียน
  • ทั้งข้อ 1 และ 2 จะต้องมีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557

8. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

  • โดยวิธีการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย  
  • โดยวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาผ่านสำนักงานคณะกรรมการ อุดมศึกษา

9. ค่าใช้จ่ายในการศึกษา

                ค่าใช้จ่ายนักศึกษาตลอดหลักสูตร 96,000 บาท 

10. ระยะเวลาการศึกษา

                ระยะเวลา 4 ปี ในหลักสูตรปริญญาตรี

Programme Specifications