โครงการวิศวกรรมโยธาสีเขียว (Civil Engineering Green)

โครงการวิศวกรรมโยธาสีเขียว (Civil Engineering Green)
.
หลักสูตรวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ขนอม นำโดย อาจารย์ชูเกียรติ ชูสกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและวิจัย จัดโครงการวิศวกรรมโยธาสีเขียว (Civil Engineering Green) โดยมี บุคลากร นักศึกษา และบุคคลภายนอกเข้าร่วมโครงการทั้ง On Site และออนไลน์ ณ อาคารวิศวกรรมโยธา (เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา)
.

อาจารย์ชูเกียรติ ชูสกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและวิจัย ในนามผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า หลักสูตรวิชาวิศวกรรมโยธา วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มทร.ศรีวิชัย ได้มีโครงการบริการวิชากรทดสอบวัสดุทางด้านวิศวกรรมโยธา ซึ่งจากการทดสอบที่ได้ปฏิบัติมาจะพบว่าจะมีวัสดุที่เหลือจากการทดสอบ โดยวัสดุหลักๆ ที่เหลือจะเป็นวัสดุด้านคอนกรีต คือ เศษก้อนตัวอย่างคอนกรีตที่เหลือจากการทดสอบกำลังรับแรงอัดของคอนกรีต ทั้งทรงกระบอกและทรงลูกบาศก์ โดยวัสดุดังกล่าวจะกองทิ้งอยู่บริเวณหลังอาคารเรียนสาขาวิศวกรรมโยธา ซึ่งทำให้ภูมิทัศน์บริเวณด้านหลังอาคารเรียนจะดูไม่สวยงาม แนวโน้มเศษตัวอย่างคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นทุกปี การจัดภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยฯ โดยใช้นวัตกรรมที่ผลักดันให้เกิดการพัฒนาองค์กรตามองค์ประกอบ ของ Green Campus ตามมาตรการพัฒนาองค์กรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์อนุรักษ์ พัฒนา และสร้างคุณค่าสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างสรรค์มรดกทางวัฒนธรรมบนแนวคิดวิสาหกิจวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน จะช่วยลดปัญหาจากวัสดุเหลือทิ้งจากการทดสอบวัสดุทางด้านวิศวกรรมโยธา ปรับภูมิทัศน์ของวิทยาลัยฯ ให้น่าอยู่ เป็นแหล่งแห่งการเรียนรู้ที่ดี
.

ดังนั้น การนำวัสดุเหลือทิ้งจากการทดสอบคอนกรีต มาทำเป็นนวัตกรรมสำหรับใช้ปรับปรุงพื้นที่บริเวณอาคารหลักสูตรวิชาวิศวกรรมก่อสร้าง โดยใช้หลักวิชาการทางด้านวิศวกรรมโยธา โดยให้อาจารย์และนักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างคุณค่าสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการสร้างนักสิ่งแวดล้อมมืออาชีพ สร้างจิตสำนึกให้กับนักศึกษาหลักสูตรวิชาวิศวกรรมโยธา และนักศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ และยังเป็นการพัฒนางานส่งเสริมยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอีกด้วย โดยในการร่วมโครงการครั้งนี้เป็นการนำ "แผ่นโพลีคาร์บอเนต" หรือแผ่นพลาสติกปูหลังคาชนิดหนา มาบดและผสมกับปูน ทราย และน้ำตามสัดส่วนที่กำหนดแล้วเทลงแบบสี่เหลี่ยมที่เตรียมไว้ พักไว้จนแห้งและทำการแกะแบบต่อไป
------------------------------------------------

รายงาน : แผนกประชาสัมพันธ์ งานบริหารและวางแผน
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม
https://www.facebook.com/pr.cim.rmutsv
http://cim.rmutsv.ac.th