U2T ตำบลท้องเนียน #เปิดบ้านนำเสนอผลงานการถ่ายทอดนวัตกรรมสู่แหล่งเรียนรู้ ขยายผลต่อยอดผลิตภัณฑ์ในชุมชน สู่ตลาดกลาง ณ เทศบาลตำบลท้องเนียน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช

U2T ตำบลท้องเนียน #เปิดบ้านนำเสนอผลงานการถ่ายทอดนวัตกรรมสู่แหล่งเรียนรู้ ขยายผลต่อยอดผลิตภัณฑ์ในชุมชน สู่ตลาดกลาง ณ เทศบาลตำบลท้องเนียน
.
วันนี้ (16 ธันวาคม 2564) วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นขนอม โดย อาจารย์เมธาพร มีเดช หัวหน้าโครงการ, อาจารย์ ดร.สุพร ฤทธิภักดี (อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ, อาจารย์ ดร.เกริกวุฒิ กันเที่ยง (อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ) และอาจารย์นพดล ศรภักดี (อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ) พร้อมด้วย คณะทำงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจตำบลแบบบูรณาการ (U2T) มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ ตำบลท้องเนียน จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดนวัตกรรมสู่แหล่งเรียนรู้ชุมชน ณ ลานเอนกประสงค์ เทศบาลตำบลท้องเนียน ตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
#โดยมี อาจารย์ทวีศักดิ์ ศรีภูงา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมละการจัดการ กล่าวต้อนรับประธานในพิธี เกษตรอำเภอขนอม นายกเทศมนตรีตำบลขนอม ผู้แทนพัฒนาชุมชนอำเภอขนอม ภาคเอกชน ภาคประชาชน และผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายสุนทร โพชสาลี ปลัดอาวุโสอำเภอขนอม เป็นประธานในการกล่าวเปิดกิจกรรม โดยกล่าวชื่นชมทางคณะทำงานและวิทยาลัยฯที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาถ่ายทอดสู่แหล่งเรียนรู้ชุมชน สามารถทำให้ชุมชนนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพของคนในชุมชน และเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน
สำหรับกิจกรรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อเป็นการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการโดยมหาวิทยาลัย ให้เกิดการจ้างงานในหมู่ประชาชนทั่วไป บัณทิตจบใหม่ และ นักศึกษา ให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจของชุมชน โดยมีเป้าหมายการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ (Community Big Data) เพื่อให้เกิดการพัฒนาตามความต้องการของชุมชน ซึ่งจากการลงสำรวจ และรวบรวมข้อมูลของคณะทำงาน U2T ตำบลท้องเนียน พบว่า ตำบลท้องเนียน มีลักษณะของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล และมีภูเขาเกือบตลอดแนว อาชีพหลักของประชาชนทำประมง ทำสวน ธุรกิจรีสอร์ท ที่พัก ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าชาวประมงมีอาชีพการแปรรูปอาหารทะเลแบบพื้นบ้าน ซึ่งประสบปัญหาสภาพอากาศที่เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการแปรรูปอาหารทะเล ซึ่งส่งผลให้เกิดความล่าช้าในส่วนของกระบวนการการผลิตที่ไม่ได้ตามเป้าหมาย จึงได้คิดออกแบบนวัตกรรมที่สามารถช่วยพัฒนาในการแปรรูปอาหารทะเลทุกชนิดให้ประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มปริมาณในการผลิต เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาถ่ายทอดสู่แหล่งเรียนรู้ชุมชน เพื่อให้นวัตกรรมนั้นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพของคนในชุมชน
---------------------------------------------------------------
รายงาน : แผนกประชาสัมพันธ์ งานบริหารและวางแผน
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม
https://www.facebook.com/pr.cim.rmutsv
http://cim.rmutsv.ac.th