บพท. หนุน มทร.ศรีวิชัย ขนอม พัฒนานวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ อาหารทะเลต้นแบบเพื่อการท่องเท่ียวชุมชนชายฝั่งวิถีใหม่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเขาออก การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

บพท. หนุน มทร.ศรีวิชัย ขนอม พัฒนานวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ อาหารทะเลต้นแบบเพื่อการท่องเท่ียวชุมชนชายฝั่งวิถีใหม่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเขาออก การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
.
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 อาจารย์ทวีศักดิ์ ศรีภูงา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ขนอม พร้อมด้วย อาจารย์ชูเกียรติ ชูสกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและวิจัย ให้การต้อนรับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย (รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย) #หน่วยจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ #สถาบันวิจัยและพัฒนา ในการลงพื้นที่ติดตามตรวจเยี่ยมโครงการวิจัยภายใต้กรอบวิจัย “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ประจำปี 2564 ผลการดำเนินงานระยะ 9 เดือน ภายใต้แผนงานวิจัย การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีภายใต้บริบทชุมชน “เขา ป่า นา เล” ณ พื้นที่วิจัยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเขาออก การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมู่ที่ 3 ตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่วิจัยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเขาออก การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมู่ที่ 3 ตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
.
โดยมี ดร.วชิร ยั่งยืน #วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมด้วยผู้ร่วมวิจัย และทีมวิจัย ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญหทัย ใจเปี่ยม อาจารย์ดนวัต สีพุธสุข, อาจารย์กมลนันท์ ชีวรัตนโชติ, ผศ.จรีพร เชื้อเจ็ดตน (มทร.ศรีวิชัย `#พื้นที่ทุ่งใหญ่) และ ดร.ศิววงศ์ เพชรจุล (มทร.ศรีวิชัย #วิทยาเขตตรัง) ซึ่งโครงการวิจัยดังกล่าวเป็น 1 ใน 10 โครงการย่อยในแผนงานวิจัย การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ภายใต้บริบทชุมชน “เขา ป่า นา เล” ในพื้นท่ีจังหวัดตรัง และจังหวัดนครศรีธรรมราช ประจำปีงบประมาณ 2564 จากหน่วย บพท.
.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย กล่าวว่า จุดเด่น คือ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มทร.ศรีวิชัย พื้นที่อำเภอขนอม เป็น Campus เล็กๆ ที่มีความโดดเด่นในพื้นที่อ่าวไทยตอนกลาง นำเอาพื้นที่บริการทางวิชาการในชุมชน #การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านเขาออก ที่มีความร่วมมือกันมาต่อเนื่อง มีความเด่นในเรื่องการอนุรักษ์บนฐานทรัพยากรทางทะเล โดยเฉพาะการท่องเที่ยวชมโลมาสีชมพู การวิจัยพัฒนากรอบชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนางานวิจัยเชิงพื้นที่ให้กับนักวิจัยในพื้นที่ ได้เรียนรู้การทำงาน การสร้างผลผลิตและผลลัพธ์ ที่ช่วยยกระดับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจชุมชน ด้วยฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
.
โครงการวิจัยนี้มีเป้าหมาย เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ชุมชนด้านอาหารสำหรับนำมาสร้างมูลค่าใหม่ใหกับการท่องเที่ยว โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้และเสริมความเข้มแข็งของการท่องเที่ยวโดยชุมชน ผลการทำงาน พบว่า อัตลักษณ์ทางอาหารของชุมชนเขาออกการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จากการค้นหาด้วยอัตลักษณ์ที่มองเห็นได้ อัตลักษณ์ที่สามารถสัมผัสได์ อัตลักษณ์เชิงพฤติกรรม และอัตลักษณ์เชิงประโยชน์ ซึ่งพบว่าอัตลักษณ์ด้านอาหารของชุมชนเขาออก ที่จะเชื่อมสู่การท่องเที่ยว คือข้าวมันทะเล+แกงเลียงเคยเกลือ ที่นำไปสู่การค้นหาสูตรและคุณค่า (ชุดความรู้) การสร้างความเชี่ยวชาญชุมชนในการผลิต (นวัตกรชุมชน) การขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ (รูปแบบการท่องเที่ยว) และสร้างโอกาสและการกระจายรายได้ในชุมชน (เศรษฐกิจพอเพียง : แกงเลียงเคยเกลือ) การเปลี่ยนทรัพยากรชายฝั่งที่มีมูลค่าต่ำสู่คุณค่าใหม่ เชื่อมสู่การรองรับการท่องเที่ยวชมระบบนิเวศ โลมาสีมพู ให้กับชุมชน โดยอาหารข้าวมันทะเลจะเป็นพระเอกตัวใหม่ ในการดึงความสนใจและสร้างคุณค่าให้ชุมชนเพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชน ประทับใจการทำงานของทีมวิจัย การบูรณาการข้ามศาสตร์ ข้ามหน่วยงาน การตอบรับยอมรับของชุมชนในการช่วยคิด ยอมรับ ปรับใช้ และพัฒนาต่อยอด ที่สำคัญการที่ผู้บริหารระดับหน่วยงานให้ความสำคัญต่อโครงการวิจัยพัฒนาพื้นที่ ในการร่วมกำกับและติดตามผล เพื่อขยายผลและผลักดันการทำงานให้ต่อเนื่อง
#ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน64
#หน่วยบริหารและจัดการทุนเพื่อการพัฒนาระดับพื้นที่
#สกสว.
#บพท.
#RUTS
#RDI
-------------------------------------------
รายงาน : แผนกประชาสัมพันธ์ งานบริหารและวางแผน
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม
https://www.facebook.com/pr.cim.rmutsv
http://cim.rmutsv.ac.th