กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าขามประทับใจ พร้อมเปิดใจขานรับแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมชุมชน อบรมเชิงปฏิบัติการ SMART FARM ภายใต้การขับเคลื่อน U2T ตำบลขนอม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าขามประทับใจ พร้อมเปิดใจขานรับแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมชุมชน อบรมเชิงปฏิบัติการ SMART FARM ภายใต้การขับเคลื่อน U2T ตำบลขนอม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ
.
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2564 อาจารย์วาจิศา จันทรักษ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและวิจัย ในนามหัวหน้าโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) #ตำบลขนอม (U2T ตำบลขนอม) เป็นประธานในการจัดกิจกรรมพัฒนานวัตกรรมชุมชน อบรมเชิงปฏิบัติการ SMART FARM ชุมชนบ้านท่าขามเกษตรพอเพียง ต.ขนอม พร้อมด้วยคณะดำเนินงาน อาจารย์น้ำฝน จันทร์นวล หลักสูตรวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว อาจารย์ ดร. เสาวคนธ์ ชูบัว หลักสูตรวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ อาจารย์ประสาร จิตร์เพ็ชร หลักสูตรวิชาวิศวกรรมโยธา วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ขนอม และทีมงาน U2T พื้นที่ขนอม ทั้งภาคประชาชน นักศึกษา และบัณฑิตจบใหม่ ณ บ้านท่าขามเกษตรพอเพียง ต.ขนอม อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช

ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.กฤษฎา พวงสุวรรณ อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ นายชนาธิป สว่างวงศ์ และนายสรวิชญ์ ช่วงแข็ง ผู้ช่วยวิทยากรหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ร่วมกับ อาจารย์อาจารย์ประสาร จิตร์เพ็ชร หลักสูตรวิชาวิศวกรรมโยธา วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ เกี่ยวกับ การจัดการ Smart Farm (สมาร์ทฟาร์ม) ระบบเพื่อการเกษตรในอนาคตยุคดิจิตอล 4.0 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าขาม หมู่ที่ 1 ต.ขนอม อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช

อาจารย์ ดร.กฤษฎา พวงสุวรรณ กล่าวว่า Smart Farm (สมาร์ทฟาร์ม) มีแนวคิดหลัก คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ในการพัฒนาทั้งห่วงโซ่อุปทาน ของการบวนการผลิตสินค้าเกษตรไปจนถึงผู้บริโภค เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิต ลดต้นทุนรวมทั้งพัฒนามาตรฐานสินค้า ด้วยการนำเทคโนโลยี GPS (Global Positioning System) เป็นเทคโนโลยีในการระบุพิกัดและตำแหน่งโดยใช้ดาวเทียม , GIS (Geographic Information System) เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ เช่น Google Earth , Remote Sensing เทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกลเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลพื้นที่ เช่น สั่งรดน้ำทางสมาร์ทโฟน และ Peoximal Sensing เทคโนโลยีระยะใกล้ เซ็นเซอร์วัดข้อมูลต่างๆ เช่น เซ็นเซอร์ตรวจอากาศ เซ็นเซอร์วัดดิน

ด้าน อาจารย์ประสาร จิตร์เพ็ชร เติมเต็มแนวคิดในส่วนของข้อดีของการดำเนินงาน Smart Farm (สมาร์ทฟาร์ม) คือ ช่วยลดเวลาการแก้ปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน ช่วยพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพมากขึ้น เป็นระบบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และเป็นผลผลิตจากการพัฒนาและปรับปรุงได้อย่างแม่นยำ ซึ่ง Smart Farm (สมาร์ทฟาร์ม) เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากแนวพระราชดำริในรัชกาลที่ 9 (พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย) เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรและผู้ประกอบการใช้นวัตกรรมด้านการเกษตรมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลและพัฒนาการเกษตรให้ยั่งยืนในอนาคต ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวสร้างความประทับใจให้กับชุมชน และ กลุ่มวิสาหกิจบ้านท่าขาม เป็นอย่างมาก

.
ภาพ/เรียบเรียง : แผนกประชาสัมพันธ์ งานบริหารและวางแผน
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม
http://cim.rmutsv.ac.th/
https://www.facebook.com/pr.cim.rmutsv